วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เกณฑ์การจำแนกสาร

เรื่องที่ 1 สมบัติของสาร และเกณฑ์ในการจำแนกสาร
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนาไฟฟ้า การละลายน้ำจุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรดเบส เป็นต้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. สมบัติทางกายภาพของสาร เป็นสมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้ง่าย เพื่อบอกลักษณะของสารอย่างคร่าว ๆ ได้แก่ สถานะ ความแข็ง ความอ่อน สี กลิ่น ลักษณะผลึก ความหนาแน่นหรือเป็นสมบัติที่อาจตรวจสอบได้โดยทาการทดลองอย่างง่าย ๆ ได้แก่ การละลายน้ำการหาจุดเดือด การหาจุดหลอมเหลว หรือจุดเยือกแข็ง การนาไฟฟ้า การหาความถ่วงจาเพาะ การหาความร้อนแฝง
2. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเกิดสารใหม่ การสลายตัวให้ได้สารใหม่ การเผาไหม้ การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เป็นต้น
เกณฑ์ในการจำแนกสาร
ในการศึกษาเรื่องสาร จาเป็นต้องแบ่งสารออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจาสาร โดยทั่วไปนิยมใช้สมบัติทางกายภาพด้านใดด้านหนึ่งของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร ซึ่งมีหลายเกณฑ์ด้วยกัน เช่น
1. ใช้สถานะเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 ของแข็ง ( solid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปร่างเฉพาะตัว เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแน่นอย่างมีระเบียบไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ได้ น้อยมาก ไม่สามารถทะลุผ่านได้และไม่สามารถบีบหรือทาให้เล็กลงได้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก ทองคา ดิน ทราย พลาสติก กระดาษ เป็นต้น
1.2 ของเหลว ( liquid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะไหลได้ มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคในของเหลวอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่ สามารถทะลุผ่านได้ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมันพืช น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
1.3 แก๊ส ( gas ) หมายถึงสารที่ลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีพลังงานในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปได้ในทุกทิศทางตลอดเวลา จึงมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคน้อยมาก สามารถทะลุผ่านได้ง่าย และบีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย เช่น อากาศ แก๊สออกซิเจน แก๊สหุงต้ม เป็นต้น


2. ใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
2.1 โลหะ ( metal)
2.2 อโลหะ ( non-metal )
2.3 กึ่งโลหะ ( metaliod )

3. ใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
3.1 สารที่ละลายน้ำ
3.2 สารที่ไม่ละลายน้ำ


4. ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
4.1 สารเนื้อเดียว ( homogeneous substance )
4.2 สารเนื้อผสม ( heterogeneous substance


ใบความรู้ที่ 2
สมบัติของธาตุ สารประกอบ สารละลาย สารผสม
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว ธาตุไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี ธาตุมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง เช่น ธาตุสังกะสี(Zn) ตะกั่ว (Pb) เงิน (Ag) และดีบุก (Sn),เป็นของเหลว เช่น ปรอท (Hg) เป็นก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2) ฮีเลียม (He) ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจน (H2) เป็นต้น
สารประกอบ (compound) หมายถึงสารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบสารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายให้เกิดเป็นสารใหม่หรือกลับคืนเป็นธาตุเดิมได้ สารประกอบจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากธาตุเดิม เช่น น้ำ มีสูตรเคมีเป็น H2O น้ำเป็นสารประกอบที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) แต่มีสมบัติแตกต่างจากไฮโดรเจนและออกซิเจน น้ำตาลทรายประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ( C ),ไฮโดรเจน (H) ,และออกซิเจน (O) เป็นต้น
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน

สารผสม หมายถึง สารที่มีองค์ประกอบภายในแตกต่างกัน หรือสารที่เนื้อไม่เหมือนกันทุกส่วน เช่น พริกเกลือ คอนกรีต ดินหรืออาจเป็นสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปผสมกันอยู่ โดยที่สารเหล่านี้ยังมีสมบัติเหมือนเดิมและสามารถแยกออกจากกันได้โดยวิธีง่ายๆ